top of page

🤔ฝังเข็มเจ็บมั้ย? อันตรายหรือไม่?

เมื่อพูดถึงแพทย์แผนจีน หลายๆคนคงจะนึกถึงการรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นอันดับแรกๆ คนที่ไม่เคยฝังเข็มมาก่อนอาจจะเคยมีคำถามว่า… ฝังเข็มจะเจ็บมั้ย? อันตรายหรือไม่? จำเป็นแค่ไหน? หรือคนที่เคยฝังเข็มแล้ว แต่ไม่ชอบ หรือแม้แต่คนที่กลัวเข็ม จะสามารถรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้างนะ? วันนี้เราจะมาตอบทุกคำถามให้กระจ่างกัน


ฝังเข็มเจ็บมั้ย?

ตามทฤษฎีแล้ว ความรู้สึกที่ร่างกายคนไข้ได้รับต่อบริเวณรอบจุดฝังเข็ม สามารถมีได้ทั้งปวด, ชา, แน่น, หน่วง หรือที่เรียกว่า “การได้ชี่” แปลว่า ปฏิกิริยาต่อเข็ม ในขณะเดียวกันแพทย์ผู้ฝังเข็มก็จะรู้สึกถึงเข็มในมือเช่นเดียวกันว่าตึงแน่นเหมือนถูกหน่วงเอาไว้ คล้ายกับปลากระตุกเบ็ด


“การได้ชี่” มีความสำคัญมาก การรักษาโรคด้วยการฝังเข็มจะไม่เกิดผลหากไม่เกิดการได้ชี่ ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อเข็มแทงไปถึงจุด ก็จะเกิดอาการได้ชี่ในทันที


สรุปแล้ว ความรู้สึกต่อเข็ม ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน บางคนอาจไม่รู้สึกว่าเจ็บ แต่จะรู้สึกตึงๆ หรือบางคนอาจรู้สึกเจ็บนิดๆเหมือนมดกัด แต่ถ้าเทียบกับการฉีดยาแล้ว ก็นับว่าเบากว่า


ฝังเข็มอันตรายหรือไม่?


การรักษาด้วยการฝังเข็ม แพทย์จะมีมาตรฐานปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ดังนี้…


สถานที่ฝังเข็มและสิ่งแวดล้อม สะอาด ถูกหลักอนามัย


แพทย์ต้องทำความสะอาดมือตามขั้นตอนที่เหมาะสม


ทำความสะอาดตำแหน่งที่จะทำการฝังเข็ม


ใช้อุปกรณ์และเข็มที่สะอาด และมีการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม


โดยเข็มที่แพทย์ใช้ฝังเข็มนั้น จะเป็นเข็มเฉพาะทางที่มีความทนทาน ยืดหยุ่น ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย และไม่เป็นสนิม โดยเข็มจะถูกเก็บรักษาอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดเชื้อ และเมื่อผ่านการใช้งานแล้วก็จะถูกทำลายทิ้ง และไม่นำกลับมาใช้ซ้ำอีก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ


ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการเลือกสถานที่รักษาที่ได้มาตรฐาน และทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่มีใบรับรองอย่างถูกต้องเท่านั้น!


ฝังเข็มจำเป็นแค่ไหน?

ขึ้นอยู่กับอาการป่วยและสภาพร่างกายของคนไข้แต่ละคน ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้วินิจฉัยว่ามีความจำเป็นต้องฝังเข็มหรือไม่ หากไม่มีความจำเป็นต้องฝังเข็ม หรือร่างกายของคนไข้ยังไม่พร้อมสำหรับการฝังเข็ม ก็ไม่จำเป็นต้องทำ


ถ้าไม่อยากฝังเข็ม สามารถรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง?

ยังมีการรักษาอีกหลายทางให้เลือกในวิถีการรักษาของแพทย์แผนจีน เช่น ยาจีน ทุยหนา กวาซา ครอบแก้ว รมยา ซึ่งถ้าไม่ต้องการฝังเข็ม อาจจะใช้การทุยหนาเพื่อกดตามจุดลมปราณแทน หรืออาจจะใช้ยาจีน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทดแทนการฝังเข็มได้ทั้งหมด


เนื่องจากวิธีการรักษาแต่ละแบบของแพทย์แผนจีนมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้วินิจฉัยอาการของโรคและสุขภาพร่างกายของคนไข้ ว่าสามารถทำการรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้างจึงจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งเบื้องต้นนั้น คนไข้สามารถมาขอรับคำปรึกษาก่อนได้ที่คลินิก


นัดพบเพื่อรับการปรึกษา โทร 096 879 5422 / 095 643 3224


‘สุขภาพดีเริ่มต้นจากการมีร่างกายที่สมดุล’

ปรับสมดุลเพื่อรักษาโรคตามหลักธาตุทั้ง 5 และดูแลสุขภาพตามหลักเเพทย์แผนจีน


Line: @keewanclinic หรือ https://lin.ee/r6t0MsU


#Keewan #กีวรรณ #กีวรรณคลินิก #ศาสตร์จีน #แพทย์แผนจีน #แพทย์ทางเลือก #ฝังเข็ม #ปรับสมดุล#ฝังเข็มรักษาสมดุล #รมยา #ยาจีน #ทุยหนาจัดกระดูก #กวาซา #ครอบเเก้ว


0 views0 comments

Comments


bottom of page